dimanche 25 novembre 2012

      
       หลังจากที่ห่างหายไปนาน  วันนี้กลับมาอีกครั้งพร้อมกับขอนำเสนอภาพยนตร์และภาพยนตร์การ์ตูนสัญชาติฝรั่งเศสที่เมื่อชมแล้วคุณจะได้รับเเต่สิ่งดี  ที่เจ้าของบล็อกเองก็ได้รับมาแล้วเช่นกันมาเริ่มที่เรื่องเเรกกันเลย


Les Choristes ( The  Chourus )


             
             ภาพยนตร์เรื่อง Les Choristes เป็นการหยิบเอาภาพยนตร์เก่ามาสร้างใหม่อีกครั้ง จากโครงเรื่อง La Cage aux Rossignols (A Cage of Nightingales) ผลงานกำกับเมื่อปี 1945 ของ ฌอง เดร์วิลล์ ภาพยนตร์เวอร์ชั่นใหม่นี้ได้เข้าชิงออสการ์ปี 2004 จำนวน 2 สาขาด้วยกันคือ สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม และ สาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ('Look To Your Path' หรือ 'Vois Sur Ton Chemin')
ภาพยนตร์เรื่อง Les Choristes กำกับโดย คริสตอฟ บาร์ราติเย่ร์ บทภาพยนตร์โดย คริสตอฟ บาร์ราติเย่ร์ และ ฟิลิปป์ โลเปส์-เคอร์วาล อำนวยการสร้างโดย ฌาค์ส แปร์แครง, อาร์เธอร์ โคห์น, นิโคลา โมแวคเน
Les Choristes นำแสดงโดย เจอราร์ด จูโน่, ฟรองซัว เบอร์เลออง, กาด เมอร์ราด, มารี บูเนล

                เรื่องย่อ
      หนังเริ่มเรื่องในปี ค.ศ.1948 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง 3 ปี สภาพโรงเรียนเด็กกำพร้าแห่งหนึ่ง ในประเทศฝรั่งเศส ที่มีเด็กมีปัญหาต่างๆมาอยู่รวมกันในโรงเรียนประจำที่มีครูใหญ่จอมโหด ลงโทษเด็กนักเรียนด้วยการขังคุกมืดอยู่เสมอ และเด็กในโรงเรียนนี้ก็จะมีการตอบโต้โดยการแกล้งครูจนกระทั่งใช้ความรุนแรงแบบต่างๆ
        ในวันแรกที่ ครูClement Mathieu เดินทางมาที่โรงเรียนนี้ ก็ได้เจอความรุนแรง คือ ผู้ดูแลนักเรียนคนหนึ่งถูกโจมตีด้วยอาวุธลับของเด็กจนบาดเจ็บที่นัยน์ตา ครู Mathieu พยายามหาวิธีนิ่มนวลเข้ากับเด็กๆแต่ก็ไม่วายถูกเด็กๆกลั่นแกล้ง   แต่ Mathieu ก็ไม่ย่อท้อ เอาชนะใจเด็กๆที่เกเรได้ แก้ปัญหาให้เด็กแต่ละคนอย่างมีใจเมตตาทั้งเรื่องในโรงเรียนและปัญหากับผู้ปกครอง จนสามารถตั้งวงร้องเพลงประสานเสียงขึ้นมาเป็นกิจกรรมให้นักเรียนทั้งๆที่ครูใหญ่ไม่เห็นด้วย เด็กๆที่คิดว่าตัวเองไม่มีสามารถกลับรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ จนบางคนก็เกิดความเย่อหยิ่งต้องไปตามแก้ปัญหานิสัยกันอีก อย่างเช่น ราชีนนักร้องเสียงดีของวง เขามักจะคิดว่า ถ้าวงไม่มีเขาก็จะไม่คนร้องเสียงโซปราโน 
         และมีเด็กเกเรมากคนหนึ่งถูกส่งตัวมาอยู่ที่โรงเรียนนี้ และถูกกล่าวหาว่าขโมยเงินครูใหญ่ไป ซึ่งจริงๆไม่ใช่ความผิดของเด็กเหลือขอคนนี้ หากเป็นเด็กคนอื่น เด็กเกเรถูกถูกทำโทษอย่างหนักจนในที่สุดแม้เขาจะออกจากโรงเรียนนี้ไปแล้วแต่ก็กลับมาแก้แค้นโดยการเผาโรงเรียน และก็โชคดีที่วันนั้น Clement ได้ทำผิดกฏโดยการพาเด็กๆไปทัศนศึกษานอกโรงเรียน จึงไม่มีเด็กเป็นอันตราย แต่ Clement ก็ต้องถูกไล่ออกไป เด็กๆก็ตกอยู่ในโรงเรียนที่เหมือนที่คุมขังเหมือนเดิม และด้วยความอาลัยรักครูสอนดนตรีคนนี้ พวกเด็กๆซึ่งต้องอยู่แต่ในห้องเรียนก็ได้พับกระดาษร่อนลงมามากมายในขณะที่ครูหิ้วกระเป๋าลาจากโรงเรียนแห่งนี้ไป จนกระทั่งครูเดินมาขึ้นรถโดยสาร ก็มีเด็กที่ชื่อ เป็บปิโต้ ซึ่งเป็นเด็กคนแรกที่ครูคนนี้เคยเจอที่หน้าประตูโรงเรียนในวันแรกที่ครูมาถึง ในวันนั้นเขาบอกกับครูว่า เขามาคอยพ่อหลานั้นและแม่ของเขา (เขามาคอยพ่อแม่ของเขาทุกวันเสาร์ทั้งๆที่ไม่ใช่วันเสาร์ และพ่อแม่เขาก็ไม่เคยมาหาเขาเลย) เป็บปิโต้ขอไปกับครู Clement ด้วย แต่ครูไม่ยอม ไล่ให้เด็กกลับไปโรงเรียน เมื่อครูขึ้นรถไปแล้วสักพักครูจึงนึกได้ว่าเขาเขาเป็นเด็กที่ไม่มีพ่อแม่ ครูจึงให้รถถอยกลับมารับเป็บปิโต้ไปอยู่ด้วยจนวาระสุดท้ายของชีวิต
                สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้เมื่อเจ้าของบล็อกได้ดูในครั้งเเรก ก็ถึงกลับน้ำตาตกเลยทีเดียวด้วยเห็นถึงความพยายามของครู Clement ที่ตั้งใจสอนเด็กๆจนปรับเปลี่ยนทัศนคติของพวกเขาให้กลับมามีชีวิตชีวาสมวัยโดยใช้ดนตรีบำบัดและทำให้เด็กบางคนถึงกลับประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างราชีนที่ต่อมาได้เป็นคอนดัคเตอร์  ซึ่งเรื่องนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของบทบาทหน้าที่ของคนเป็นครูอย่างแท้จริง  ที่มีอิทธิพลต่อบุคลากรที่สำคัญของอนาคตเช่นเด็ก  แม้ว่าในปัจจุบันนี้โลกของเราจะยังไม่เกิดสงครามครั้งรุนเเรงที่ส่งผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติและทำให้เราทั้งหลายต้องตกอยู่ในสถานการณ์ตามเนื้อเรื่องของภาพยนตร์ก็ตาม  แต่หากเรามองย้อนดูอีกทีจะพบว่าความเลวร้ายที่เกิดกับเด็กในยุคนี้ไม่ได้เเตกต่างกันเลย  เพราะในยุคนี้เด็กได้ตกอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยสิ่งยั่วยุและผู้ปกครองเด็กเองก็ไม่สามารถควบคุมดูเเลเด็กๆของพวกเขาได้ตลอดเวลาเนื่่องด้วยเหตุผลแห่งเวลา  ดังนั้นบุคคลที่สามารถจะดูแลเด็กๆเหล่านั้นดีก็คือครู  มิเช่นนั้นเด็กๆก็คงต้องตกเป็นเหยื่อเเห่งยุคโลกาภิวัตน์เช่นนี้ที่มีให้เห็นตามสื่อต่างๆ


Un  Monstre  de  Paris



                   ในปี 1910 ณ กรุงปารีส เริ่มราวสุดอลม่านเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 2 คู่หู Emile หนุ่มผู้ทำหน้าที่ฉายภาพยนต์ในโรงหนัง และ Raoul หนุ่มสติเฟื่องนักส่งของ   เกิดพลาดพลั้งในระหว่างจัดส่งของในแล็ปทดลองแห่งหนึ่ง ณ กรุงปารีส จนทำให้เกิดสัตว์ประหลาดขึ้นมาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์    จนกลายเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วปารีส ถึงการปรากฎกายของอสูรกายกินคน จนผู้คนต่างอกสั่นขวัญแขวนกันไปทั่ว

                 ณ อีกมุมหนึ่งของเมือง ณ ไนท์คลับเล็กๆ แต่ชื่อเสียงกระฉ่อนแห่งหนึ่งอันเป็นที่จัดแสดงการร้องเพลงของนักร้องสาวโด่งดังแห่งยุค  Lucille เธอได้บังเอิญพบกับอสูรร้ายในข่าวเข้าโดยบังเอิญ แม้ตอนแรกเธอจะตกใจและหวาดกลัวเช่นคนอื่นๆ  แต่ไม่นานนักเธอก็พบว่าอสูรตนนี้ไม่ได้ร้ายกาจอย่างที่ผู้คนหวาดกลัวกัน อีกทั้งอสูรตนนี้ยังมีความอ่อนโยนและน่าเอ็นดูอีกด้วย
 
                  ในที่สุด Lucille ก็ตัดสินใจแอบพาอสูรตนนี้เข้ามาหลบในไนท์คลับของเธออย่างลับๆ และตั้งชื่อมันว่า Francœur
 แต่ที่น่าตกใจที่สุดเธอกลับพบว่า Francœur นั้นหลงใหลในดนตรี และมีเสียงขับร้องและการบรรเลงเพลงที่หาตัวจับยากมากๆอีกด้วย
 และแล้วมิตรภาพข้ามสายพันธ์สุดเหลือเชื่อก็เริ่มต้นขึ้น ท่ามกลางกรุงปารีสแห่งนี้นั้นเอง


                 เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์การ์ตูนที่เจ้าของบล็อกเองชอบมากเรื่องหนึ่ง  เมื่อได้ดูแล้วก็พลอยให้นึกถึงคำสุภาษิตที่ว่า  L'habit ne fait pas le moine  ( Don't judge  a book  by  its  cover )  อย่ามองคนที่ภายนอกแต่ในเรื่องนี้คงเป็นอย่ามองเห็บที่ภายนอก ( ในเรื่องอสูรเป็นตัวเห็บ )  เพราะบางสิ่งบางอย่างที่เราเห็นอาจไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดก็ได้  อย่างในเรื่องอสูรไม่ใช่สัตว์ที่ดุร้ายแต่กลับอ่อนโยนและรักในเสียงดนตรีและดูเหมือนว่าจะมีจิตสำนึกที่ดีกว่าตัวละครที่เป็นคนในเรื่่องด้วยซ้ำไป  ยิ่งใในสมัยนี้คนเรามักตัดสินคนเพียงเเค่เเว็บเดียวจากรูปร่างน่าตา  การแต่งตัว  หรือเเม้กระทั่งเงินตราที่บุคคลนั้นมีอยู่ในกระเป๋าอันหรูหรา ไม่ได้ตัดสินจากการกระทำอันแท้จริง  ซึ่งดูเหมือนว่าเราทั้งหลายจะลืมมันไปแล้วด้วยซ้ำไป                         


             เสียอย่างไรก็ขอฝากให้ท่านผู้อ่านบล็อกท่านใดที่ยังไม่เคยชมก็ลองหามาชมกันได้ทั้งสองเรื่องรับรองได้ว่าท่านจะไม่ผิดหวังเลย
  
on ne voit bien qu'avec le coeur. L'essentiel est invisible pour les yeux. 

It is only with the heart that you can see fully  ,what is essential is invisible to the eyes.
 
สิ่งสำคัญนั้นไม่อาจเห็นได้ด้วยตา หากสัมผัสได้ด้วยหัวใจ  


  

Aucun commentaire:

Enregistrer un commentaire